Skip to content
Data Lazy Data Lazy

ใช้ Data ให้ใช้แรงน้อยลงและได้ผลลัพธ์มากขึ้น

  • Articles – บทความตามหมวดหมู่
    • data analytics
    • business analytics
    • marketing analytics
    • data visualization
    • generative ai
    • digital analytics
    • decision making
    • excel and google sheets
    • career
  • Services – บริการของเรา
    • บริการจัด Training และ Workshop
    • บริการที่ปรึกษา – Consulting
    • บริการให้คำปรึกษาในการออกแบบและสร้าง Dashboard
  • Profile – ผลงานต่างๆ
  • Contact Us – ติดต่อเรา
Data Lazy
Data Lazy

ใช้ Data ให้ใช้แรงน้อยลงและได้ผลลัพธ์มากขึ้น

    รวมเรื่องควรรู้ หากคุณอยากหางาน Data Analyst หรือ งานในสาย Data Analytics

    By Data Lazy

    งาน Data Analyst หรือ งานอื่นๆ ในสาย Data Analytics ถือว่าเป็นหนึ่งในสายที่มีความต้องการในตลาดในช่วงนี้ และ มีคนสนใจเข้ามาทำงานพอสมควร ซึ่งหากคุณสนใจที่จะทำงาน หรือ พยายามเรียนรู้ Skills ต่างๆ สำหรับงานสายนี้ อาจมีบางเรื่องที่คุณควรพิจารณา เพื่อช่วยให้คุณเรียนรู้และหางานที่ตอบโจทย์ของคุณจริงๆ

    ใครที่สนใจงาน Data Analytics อยากให้ลองอ่านดูครับ

    Table of Contents

    • 1. ตอบตัวเองให้ได้ว่าทำไมสนใจงานด้านนี้?
    • 2. เราเหมาะกับงาน Data Analytics แนวไหน?
    • 3. เราขาดทักษะ หรือ Skills อะไรบ้าง
    • 4. ลองทำ Data Portfolio ดู
    • 5. ต้องสมัครยังไงถึงจะมีโอกาสได้งาน?
    • 6. เรียน Certification ดีมั้ย?
    • 7. ถ้าประสบการณ์ไม่ตรงสาย จะทำด้านนี้ได้มั้ย?
    • 8. เวลาหางาน อาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นตำแหน่งที่มีคำว่า data เป๊ะๆ ขนาดนั้นก็ได้ครับ
    • สุดท้าย

    1. ตอบตัวเองให้ได้ว่าทำไมสนใจงานด้านนี้?

    สำหรับบางคน อาจเคยได้ยินคำตอบแนวๆ ว่า ไม่อยากให้ย้ายมางานสายนี้ เพียงเพราะเงินหรือรายได้ ควรจะชอบงานจริงๆ

    แต่สำหรับผม ขออนุญาตบอกว่าคำตอบไม่มีผิดถูกครับ ไม่ว่าคุณจะต้องเริ่มเพียงเพราะสนใจตามกระแส หรือ จะเริ่มต้นเพราะรายได้ก็ไม่ผิด ขอให้คุณมีแรงบันดาลใจที่มากพอที่จะลองเรียนรู้และหาโอกาสดู

    เพียงแต่ ถ้าสนแค่เพราะรายได้เป็นหลัก งานสายนี้อาจเป็นเพียงแค่ทางเลือกหนึ่งเท่านั้น คุณอาจจะมีทางเลือกอื่นๆ ให้พิจารณาดูด้วย และหากคุณมีต้นทุนความรู้บางเรื่อง เช่น Business, Marketing, Engineer อาจมีทางเลือกอื่นที่เหนื่อยน้อยกว่า

    2. เราเหมาะกับงาน Data Analytics แนวไหน?

    งาน Data Analytics นั้น มักมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้เราตัดสินใจด้วยข้อมูลได้ดีขึ้น ซึ่งนอกจากความรู้ในเชิงเทคนิคแล้ว มักจะต้องอาศัยความรู้อื่นๆ (หรือที่คนในสาย Data เรียกว่า Domain Knowledge) ประกอบด้วย เช่น หากทำธุรกิจ การเข้าใจโมเดลธุรกิจ (Business Model) ก็จะช่วยให้เราเลือกข้อมูลและวิธีการวิเคราะห์ เพื่อประกอบการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นด้วย

    ซึ่งหากคุณมี ความชอบ ความถนัด และต้นทุนความรู้ต่างๆ เช่น

    ถ้ามีต้นทุนความรู้ด้าน Marketing ก็อาจจะช่วยให้เราไปสาย Marketing Analytics ได้ง่ายกว่า Analytics สายอื่นๆ

    3. เราขาดทักษะ หรือ Skills อะไรบ้าง

    งานของ Data Anayst นั้น มักเป็นงานเน้นการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจ ซึ่งต้องอาศัยทักษะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

    – ทักษะ หรือ Skills ด้านการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ต่าางๆ เช่น Excel, SQL, Python, R, Tableau, Power BI, Looker, etc. (สามารถลองอ่านบทความเกี่ยวกับการฝึกทักษะ Excel ด้วย Gen AI ได้ที่บทความนี้เลยครับ)

    – ทักษะ หรือ Skills ด้านเทคนิคการวิเคราะห์ หรือ Analysis Techniques เช่น Cohort Analysis, Segmentation, comparison (WoW, MoM, YoY), สถิติเบื้องต้น (mean / median / mode / percentile / etc)

    – ทักษะ หรือ Skills ด้านการทำ Data Visualization ให้ตอบโจทย์การวิเคราะห์หรือสื่อสาร

    – ทักษะ หรือ Skills ด้านอื่นๆ ที่ช่วยให้เข้าใจบริบทของข้อมูล (Domain Knowledge) เช่น หากสนใจเรื่องการตลาด หรือ Digital Marketing อาจจะไปดูพวกตัวเลขทางการตลาดต่างๆ เพื่อมาวิเคราะห์ เช่น วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า, ข้อมูลจากเครื่องมือการตลาดต่างๆ เช่น Google analytics

    – ทักษะ หรือ Skills ในการเอาสิ่งที่บอกไป มาแก้ปัญหาในมุมต่างๆ ได้

    4. ลองทำ Data Portfolio ดู

    การทำ Portfolio เป็นการเพิ่มโอกาสในการแสดงผลงานหรือฝีมือในการทำงานของเรา รวมถึงเป็นการเรียนรู้และฝึกฝีมือในการใช้เครื่องมือและเทคนิคต่างๆ อีกด้วย โดยเราสามารถทำ Portfolio ได้หลายวิธีตามแต่ถนัด เช่น

    • การลองทำ Dashboard ต่างๆ บน เช่น Tableau, Looker, PowerBI
    • การเขียน Code หรือ แสดงผลงานบน Github

    5. ต้องสมัครยังไงถึงจะมีโอกาสได้งาน?

    แน่นอนว่าการเตรียมตัวดี ย่อมเพิ่มโอกาสในการถูกเรียกสัมภาษณ์และพิจารณามากกว่าเตรียมตัวไม่ดี อย่างไรก็ตาม โอกาสของแต่ละคนนั้น อาจมีความแตกต่างกันไปด้วยเหมือนกัน

    สำหรับบางคนนั้น อาจจะแปบเดียวได้ แต่จากประสบการณ์ส่วนตัวของผม สมัครไปน่าจะหลักร้อยได้ โดนปฏิเสธมาไม่รู้กี่รอบ ตกม้าตายรอบสองคนสุดท้ายก็บ่อย ซึ่งบางครั้ง มันเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้จริงๆ

    ถ้าหากเราต้องการทำเข้ามาทำงานนี้จริงๆ ก็ต้องเตรียมตัวให้ดี พัฒนาตัวเอง และหาโอกาสให้ตัวเองเรื่อยๆ ครับ เพราะมันไม่มีวิธี 100% ที่จะการันตีว่าเราจะได้งานจริงๆ และเราเองก็ไม่รู้ว่าโอกาสที่ใช่จะมาเมื่อไหร่

    ดังนั้น เราอาจต้องสมัครเรื่อยๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ตัวเองด้วยเช่นกัน

    6. เรียน Certification ดีมั้ย?

    อันนี้ผมตอบไม่ได้ครับ เพราะส่วนตัวไม่เคยสมัครหรือรับคนด้วย Certificates จริงๆ

    ส่วนมากในการทดสอบ Skills ผมมักจะได้โจทย์มาทำ หรือ ในตอนรับคน ผมก็ส่งโจทย์ให้ทำเลยมากกว่า

    อาจมีดูบ้างว่าใช้เครื่องมือและเทคนิคการวิเคราะห์อะไรเป็นบ้าง มีความใกล้เคียงกับเนื้องานมั้ย

    ดังนั้น หากจะแนะนำ ขอแนะนำให้ เอา Skills ที่ได้เรียนมาจาก Certificates ต่างๆ มาเรียบเรียงให้เป็นรูปแบบของตัวเอง เช่น

    • หากใช้ Excel, Google Sheet เป็น ใช้ function หลักๆ อะไรได้บ้าง ตอบโจทย์ธุรกิจอะไรได้บ้าง
    • หากใช้ Looker, Power BI เป็นเคยทำ Dashboard ให้ Business แบบไหน ด้วย function อะไรมาบ้าง
    • หากมีการเขียน Code เช่น Python อาจบอกว่า เคยใช้ Library, function อะไรในการดึงข้อมูลมาบ้าง และวิเคราะห์อย่างไรบ้าง

    7. ถ้าประสบการณ์ไม่ตรงสาย จะทำด้านนี้ได้มั้ย?

    ตอนนี้งานสาย Data เท่าที่เจอ ยังไม่เคยเจอแบบ ตรงสายสุดๆ จริงๆ นะครับ ถ้าจะเอาใกล้เคียงในเชิงเทคนิค ก็อาจจะเป็น Computer Science, Engineer อะไรทำนองนี้ แต่ก็มีหลายๆ คนมาจากสายอื่นๆ เช่น สาย Business สาย Media หรือ แม้กระทั่งคนทำงานศิลปะก็มีครับ

    8. เวลาหางาน อาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นตำแหน่งที่มีคำว่า data เป๊ะๆ ขนาดนั้นก็ได้ครับ

    อยากให้มองว่า Data Analytics ถือว่าเป็น Skills มากกว่าชื่อตำแหน่งครับ เพราะอย่างที่บอกไปในข้อ 2, 3 คือ การทำ Data Analytics คือ การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจ

    หลายๆ ที่ตอนนี้ จึงค่อนข้างอยากได้คนในสายของตัวเองที่ “มี data skills” มากกว่า

    เช่น สาย Marketing ก็จะมีตำแหน่งพวก Marketing Analytics, Marketing analyst, Performance Marketing, CRM Analyst, Customer analytics ซึ่งถ้ามี background marketing มา ก็คิดว่าเป็นอีกหนึ่งสายงานที่อาจจะน่าสนใจครับ

    สุดท้าย

    หวังว่าทุกคนที่เข้ามาอ่านจะเห็นภาพในการหางานและทำงานด้าน Analytics ยิ่งขึ้นนะครับ

    ถ้าถามว่าทำไมตัวอย่างของผมถึงเป็น Marketing เยอะจัง ก็เพราะผมเป็นสาย Marketing ครับ อาจจะมีบางส่วนที่ผมเองก็ไม่รู้ เช่น พวก GIS ต่างๆ สำหรับสาย Logistics เป็นต้น

    แต่อย่างไรก็ตาม ในแง่การหางาน สิ่งที่ควรพิจารณา และ ขั้นตอนการฝึก รวมถึงหางานไม่น่าต่างกันเท่าไหร่ครับ

    ถ้าผิดพลาดยังไง ขออภัยและยินดีรับ constructive feedback นะครับ

    และหากคุณสนใจ Training หรือ Workshop เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการทำ Data Analytics ในสาย Business และ Marketing

    สามารถดูรายละเอียดได้ในปุ่มข้างล่างนี้เลยครับ 🙂

    Workshop ต่างๆ ของเรา
    บริการที่ปรึกษา Data Analytics

    Related posts:

    เริ่มลองใช้ VLOOKUP: สูตร Excel ประจำออฟฟิศ สำหรับค้นหาข้อมูลแบบง่ายๆ ก้าวแรกสู่การย้ายสายมาทำงาน Data (จากคนเคยเกลียดงาน Data) งานหลักๆ 3 อย่างของ Data Analyst และทักษะที่จำเป็นมีอะไรบ้าง? ลองมาดูกันเถอะ มาลองให้ AI แนะนำการเรียน Excel (หรือ Google Sheet) สำหรับมือใหม่ฝึก Data Analytics ดูกันเถอะ
    Articles - บทความ careerdata analystdata analytics

    Post navigation

    Previous post
    Next post

    บทความที่ได้รับความนิยม

    Recent Posts

    • วิธีออกแบบ Dashboard พร้อมขั้นตอนการสร้าง Data-Driven Dashboard ให้องค์กรขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างแท้จริง
    • มาลองให้ AI อย่าง Claude ช่วยสร้าง Dashboard แบบง่ายๆ กันเถอะ
    • เลือกเครื่องมือ Analytics Tools ยังไงให้เหมาะกับการวิเคราะห์ข้อมูลของคุณ
    • Excel ยังจำเป็นแค่ไหน ในยุค AI ที่มีเครื่องมือ Data Analytics มากมาย
    • 5 Trends ด้าน Data และ AI ที่น่าสนใจในปี 2025

    Topics - หัวข้อต่างๆ

    business analytics business model career chatgpt customer analytics dashboard data analyst data analytics data driven decision making data storytelling data visualization decision making digital analytics digital marketing excel generative ai job looker studio marketing analytics marketing technology martech

    Archives

    • May 2025
    • April 2025
    • March 2025
    • February 2025
    • October 2024
    • August 2024
    • July 2024
    • June 2024
    • May 2024
    • April 2024
    • March 2024
    • January 2024

    Categories

    • Articles – บทความ
    ©2025 Data Lazy | WordPress Theme by SuperbThemes