Skip to content
Data Lazy Data Lazy

ใช้ Data ให้ใช้แรงน้อยลงและได้ผลลัพธ์มากขึ้น

  • Articles – บทความตามหมวดหมู่
    • data analytics
    • business analytics
    • marketing analytics
    • data visualization
    • generative ai
    • digital analytics
    • decision making
    • excel and google sheets
    • career
  • Services – บริการของเรา
    • บริการจัด Training และ Workshop
    • บริการที่ปรึกษา – Consulting
    • บริการให้คำปรึกษาในการออกแบบและสร้าง Dashboard
  • Profile – ผลงานต่างๆ
  • Contact Us – ติดต่อเรา
Data Lazy
Data Lazy

ใช้ Data ให้ใช้แรงน้อยลงและได้ผลลัพธ์มากขึ้น

    4 เทคนิคเลือก Charts เบื้องต้น ในการทำ Data Visualization สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลหา Insight แบบง่ายๆ

    By Data Lazy

    ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น การเลือกใช้ Charts ที่เหมาะสมกับการวิเคราะห์หรือนำเสนอนั้น ช่วยให้ข้อมูลที่ยุ่งยากซับซ้อนดูง่ายต่อการทำความเข้าใจมากขึ้น และช่วยให้เราจับประเด็นสำคัญจากข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงวิเคราะห์หา Insight จากข้อมูลต่างๆ ได้สะดวกขึ้นอีกด้วย เพราะ Charts ดีๆจะทำให้เราเห็นภาพรวม แนวโน้ม และรูปแบบต่างๆของข้อมูลชัดเจนขึ้น

    แต่หากเลือก Charts ที่ไม่ตรงกับลักษณะของข้อมูลและวัตถุประสงค์ อาจทำให้ข้อมูลนั้นเข้าใจยาก สื่อสารไม่ชัดเจน และอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่คลาดเคลื่อนได้

    ดังนั้น เพื่อให้การตัดสินใจทางธุรกิจของเรามีคุณภาพมากขึ้น ลองมาดูวิธีการเลือก Charts ที่เหมาะสมในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลกันครับ

    Source: Qlik

    Table of Contents

    • 1. การเปรียบเทียบข้อมูลแต่ละชุด (Comparison)
    • 2. การแสดงสัดส่วนของข้อมูล (Composition)
    • 3. การแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล (Correlation)
    • 4. การแสดงการกระจายตัวของข้อมูล (Distribution)
    • สรุป

    1. การเปรียบเทียบข้อมูลแต่ละชุด (Comparison)

    ตัวอย่าง Chart ที่เราใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลแต่ละชุด ได้แก่

    • Line Chart ใช้ดูแนวโน้ม โดยเปรียบเทียบข้อมูลในแต่ละช่วงเวลา เช่น ยอดขายในแต่ละวัน หรือ รายได้ในแต่ละวัน
    • Bar / Column Chart ใช้เปรียบเทียบข้อมูลโดยรวมในแต่ละกลุ่ม เช่น รายได้หรือยอดขายรวมของแต่ละพื้นที่

    2. การแสดงสัดส่วนของข้อมูล (Composition)

    looker stacked bar column chart

    ตัวอย่าง Chart ที่เราใช้ในการแสดงสัดส่วนข้อมูลแต่ละชุด ได้แก่

    • Pie Chart ใช้ดูสัดส่วนข้อมูลโดยรวมในแต่ละกลุ่ม เช่น อัตราส่วนรายได้รวมของสินค้าแต่ละประเภท แต่หากมีจำนวนกลุ่มมาก การเลือกใช้ Chart อื่นๆ เช่น Bar Chart อาจเหมาะสมกว่า
    • Area Chart เป็นเหมือนการนำ Pie Chart มารวมกับ Line Chart ซึ่มสามารถใช้ดูสัดส่วนและดูแนวโน้มของในแต่ละกลุ่มพร้อมกันได้ เช่น อัตราส่วนรายได้รวมของสินค้าแต่ละประเภทในแต่ละวัน
    • Stacked Bar หรือ Stacked Column Chart เป็นกราฟแท่งที่ใช้ดูสัดส่วนของข้อมูลย่อยที่อยู่ในแต่ละกลุ่มของกราฟแท่งอีกที เช่น การแบ่งกราฟยอดขายแต่ละแท่งตามอายุและภายในแท่งแบ่งกลุ่มย่อยตามเพศอีกที เป็นต้น

    3. การแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล (Correlation)

    heatmap-table
    scatter-plot-bubble-chart-วิเคราะห์

    ตัวอย่าง Chart ที่เราใช้ในการดูความสัมพันธ์ข้อมูลแต่ละชุด ได้แก่

    • Heatmap Chart ใช้ดูความสัมพันธ์ข้อมูลโดยรวมในแต่ละกลุ่ม เช่น จำนวนลูกค้าในแต่ละพื้นที่ สัมพันธ์กับรายได้หรือไม่ ซึ่งจากตัวอย่าง เราจะเห็นว่า ในพื้นที่ North มีลูกค้าสูงสุด แต่ West นั้นมี จำนวนรายได้สูงกว่า เป็นต้น
    • Scatter Chart/ Bubble Chart ใช้วิเคราะห์และดูความสัมพันธ์ข้อมูลโดยรวมในแต่ละกลุ่มเช่นเดียวกันกับ Heatmap แต่การนำเสนอ อาจช่วยให้เห็นภาพได้ชัดเจนกว่า เพียงแต่ข้อจำกัดคือ สามารถเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้เพียง 2 – 3 ตัวแปร (แนวตั้ง, แนวนอน, ขนาดของแต่ละจุด) เท่านั้น

    4. การแสดงการกระจายตัวของข้อมูล (Distribution)

    scatter-plot-bubble-chart-วิเคราะห์

    ตัวอย่าง Chart ที่เราใช้ในการดูการกระจายตัวของข้อมูล ได้แก่

    • Histogram ใช้ดูความกระจายตัวข้อมูล โดยดูความถี่ในแต่ละกลุ่ม แทนที่จะดูค่าเฉลี่ยเพียงอย่างเดียว เช่น ในตัวอย่างนี้ เราจะเห็นว่าแทนที่จะดูค่าเฉลี่ยของ Basket Size หรือ รายจ่ายเฉลี่ยต่อตะกร้า เราก็แบ่งกลุ่มให้เห็นว่า กลุ่มที่จ่าย Basket Size (สมมติว่าตัวเลขเป็นหลักพัน) 1000, 2000, 3000, อื่นๆ มีกี่ออเดอร์ ก็จะทำให้เห็นรายละเอียดได้มากกว่าเพียงแค่ดูค่าเฉลี่ยอย่าง Mean, Median, Mode
    • Scatter Plot / Bubble Chart นอกจากจะใช้วิเคราะห์และดูความสัมพันธ์ข้อมูลโดยรวมแล้ว เรายังสามารถเห็นการกระจายตัวของข้อมูลไปพร้อมกันด้วยเช่นกัน เช่น รายได้หรือลูกค้าส่วนมาก กระจายตัว หรือ กระจุกกันอยู่ที่กลุ่มไหน เป็นต้น

    สรุป

    การเลือกใช้ Charts ให้ตรงกับการวิเคราะห์หรือนำเสนอนั้น ช่วยให้เราสามารถเข้าใจข้อมูล และหา Insight รวมถึงนำเสนอได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การเลือก Charts นั้น ไม่ได้มีหลักเกณฑ์ตายตัว เช่น Scatter Plot สามารถใช้ได้ทั้งการวิเคราะห์แบบ Distribution และ Correlation

    ดังนั้นเราควรทำควรเข้าใจการวิเคราะห์หรือการนำเสนอ ก่อนจะเลือกใช้ Chart ให้เหมาะสมด้วยครับ

    เพราะบางครั้ง หาก Chart หรือ Dashboard ง่ายๆ ก็อาจช่วยให้เราหา Insight ที่มีช่วยตอบคำถามและนำไปใช้จริงได้ และหากเราสามารถตีความข้อมูลได้ง่าย ก็อาจได้ประโยชน์มากกว่าการใช้ Chart หรือ Dashboard ที่ซับซ้อนที่ทำความเข้าใจยาก ด้วยเช่นกัน

    และหากคุณอยากรู้วิธีสร้าง Dashboard ง่ายๆ บน Looker Studio อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับ Chart อื่นๆ ในการสร้าง Dashboard ด้วย Looker Studio แล้วสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความนี้เลยครับ

    หรือ หากสนใจ Workshop เกี่ยวกับการทำ Data Visualization ด้วย Looker สามารถกรอกรายละเอียดได้ที่ด้านล่างนี้เลยครับ 🙂

    Workshop ต่างๆ ของเรา
    บริการที่ปรึกษา Data Analytics

    Related posts:

    basic looker tutorialสอนวิธีใช้ Looker Studio (Google Data Studio) เบื้องต้น: มาเริ่มลองสร้าง Sales Dashboard แบบง่ายๆ กันเถอะ basic looker chartรวม Charts พื้นฐานต่างๆ ในการเริ่มต้นออกแบบ Dashboard บน Looker Studio ก้าวแรกสู่การย้ายสายมาทำงาน Data (จากคนเคยเกลียดงาน Data) Marketing Analytics คืออะไร? มีงานอะไรบ้าง? และเลือกยังไงให้เหมาะกับธุรกิจ
    Articles - บทความ data analyticsdata visualization

    Post navigation

    Previous post
    Next post

    บทความที่ได้รับความนิยม

    Recent Posts

    • วิธีออกแบบ Dashboard พร้อมขั้นตอนการสร้าง Data-Driven Dashboard ให้องค์กรขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างแท้จริง
    • มาลองให้ AI อย่าง Claude ช่วยสร้าง Dashboard แบบง่ายๆ กันเถอะ
    • เลือกเครื่องมือ Analytics Tools ยังไงให้เหมาะกับการวิเคราะห์ข้อมูลของคุณ
    • Excel ยังจำเป็นแค่ไหน ในยุค AI ที่มีเครื่องมือ Data Analytics มากมาย
    • 5 Trends ด้าน Data และ AI ที่น่าสนใจในปี 2025

    Topics - หัวข้อต่างๆ

    business analytics business model career chatgpt customer analytics dashboard data analyst data analytics data driven decision making data storytelling data visualization decision making digital analytics digital marketing excel generative ai job looker studio marketing analytics marketing technology martech

    Archives

    • May 2025
    • April 2025
    • March 2025
    • February 2025
    • October 2024
    • August 2024
    • July 2024
    • June 2024
    • May 2024
    • April 2024
    • March 2024
    • January 2024

    Categories

    • Articles – บทความ
    ©2025 Data Lazy | WordPress Theme by SuperbThemes