Skip to content
Data Lazy Data Lazy

ใช้ Data ให้ใช้แรงน้อยลงและได้ผลลัพธ์มากขึ้น

  • Articles – บทความตามหมวดหมู่
    • data analytics
    • business analytics
    • marketing analytics
    • data visualization
    • generative ai
    • digital analytics
    • decision making
    • excel and google sheets
    • career
  • Services – บริการของเรา
    • บริการจัด Training และ Workshop
    • บริการที่ปรึกษา – Consulting
    • บริการให้คำปรึกษาในการออกแบบและสร้าง Dashboard
  • Profile – ผลงานต่างๆ
  • Contact Us – ติดต่อเรา
    • LINE Official Account
Data Lazy
Data Lazy

ใช้ Data ให้ใช้แรงน้อยลงและได้ผลลัพธ์มากขึ้น

    Business Model และ Key Metrics ในการวัดผลแบบง่ายๆ ที่ควรรู้ ก่อนใช้ Data Analytics วิเคราะห์หา Insight ให้ธุรกิจ

    By Data Lazy

    การวิเคราะห์ข้อมูล หรือ Data Analytics นั้นมีส่วนช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจสำหรับหลายๆ ธุรกิจ ดังนั้น Data Analyst จึงมีบทบาทสำคัญในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึก ปรับปรุงการตัดสินใจ และแน่นอนว่าในธุรกิจแต่ละประเภทนั้น การตัดสินใจทางธุรกิจ และตัวเลขที่ต้องวิเคราะห์ ก็จะมีความแตกต่างกันไป เราลองมาดูตัวอย่างกันดีกว่า ว่าสำหรับธุรกิจแต่ละประเภท มีการเลือกข้อมูลและตัวเลขในการวิเคราะห์แตกต่างกันอย่างไร

    เลือกเนื้อหาที่อยากอ่านเลย

    • ธุรกิจ B2C (Business-to-Consumer) ที่ขายสินค้าที่ไม่ต้องตัดสินใจซับซ้อน (Low Involvement Products)
    • ธุรกิจ B2C (Business-to-Consumer) ที่ขายสินค้าที่ใช้เวลาต้องตัดสินใจ (High Involvement Products)
    • ธุรกิจ B2B (Business-to-Business)
    • ธุรกิจแบบสมัครสมาชิก (Subscription Model)
    • สรุป

    ธุรกิจ B2C (Business-to-Consumer) ที่ขายสินค้าที่ไม่ต้องตัดสินใจซับซ้อน (Low Involvement Products)

    มักเป็นเป็นธุรกิจที่ขายสินค้าโดยตรงถึงผู้บริโภค เน้นความรวดเร็ว สะดวกสบาย และราคา ที่ช่วยให้สามารถตัดสินใจซื้อได้รวดเร็ว โดยมากมักเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น อาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า น้ำยาทำความสะอาด

    ข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนำมาใช้ได้ คือ

    • ข้อมูลประวัติการซื้อขาย
    • ข้อมูลส่วนตัวที่ได้รับจากการสมัครสมาชิกซึ่งได้รับความยินยอมจากลูกค้า เช่น ที่อยู่ กิจกรรมที่สนใจ ช่องทางติดต่อที่ต้องการ

    การวิเคราะห์ข้อมูล มักมีเป้าหมายเน้นไปที่ การเพิ่มประสบการณ์การช็อปปิ้ง ปรับราคาให้เหมาะสม และเพิ่มยอดขาย โดยตัวอย่าง Key Metrics พื้นฐานควรติดตาม คือ

    • จำนวนลูกค้า (Number of Customers)
    • ยอดขายรวม (นับตามรายการ) (Orders หรือ Transactions)
    • รายได้รวม (Revenue)
    • ยอดขายต่อ 1 ใบเสร็จ (Average Order Value หรือ Basket Size)

    ซึ่งเราสามารถนำมาวิเคราะห์แยกย่อยเพิ่มเติมต่างๆ ได้ เช่น

    • แบ่งตามกลุ่มลูกค้าเก่าและใหม่
    • แบ่งตามกลุ่มสินค้า
    • แบ่งตามรายพื้นที่

    ธุรกิจ B2C (Business-to-Consumer) ที่ขายสินค้าที่ใช้เวลาต้องตัดสินใจ (High Involvement Products)

    มักเป็นธุรกิจที่ขายสินค้าราคาแพง มีความซับซ้อนในการตัดสินใจ รวมถึงมีขั้นตอนในกระบวนการซื้อขายเยอะ เช่น รถยนต์ ประกันภัย บัตรเครดิต อสังหาริมทรัพย์

    ข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนำมาใช้ได้ คือ

    • พฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน
    • พฤติกรรมการติดต่อกับฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด และ ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
    • ข้อมูลส่วนตัวที่ได้รับจากการลงทะเบียนซึ่งได้รับความยินยอมจากลูกค้า เช่น รายได้ สินค้าที่สนใจ

    การวิเคราะห์ข้อมูล มักมีเป้าหมายเน้นไปที่ การสำรวจพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในแต่ละขั้นตอนการซื้อขาย ก่อนการตัดสินใจซื้อจริง เช่น

    • การทำ Lead Generation เน้นให้กลุ่มเป้าหมายลงทะเบียนมาเป็นรับข้อมูลสินค้าที่สนใจเพิ่ม
    • การทำ Lead Scoring ซึ่ง เป็นกำหนดคะแนนให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียน (Leads) ตามข้อมูลต่างๆ ที่เราได้มา ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนตัว ความสนใจ และพฤติกรรมตาม Customer Journey ซึ่งจะช่วยในเราสามารถค้นหากลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการซื้อได้ดียิ่งขึ้น
    • การทำ Lead Nurturing เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจในแต่ละขั้นตอน จนกระทั่งซื้อสินค้า หรือ กลายมาเป็นลูกค้าในที่สุด

    ตัวอย่าง Key Metrics พื้นฐานที่ควรติดตาม จึงเน้นไปที่ลำดับการตัดสินใจ เช่น

    • จำนวนรายชื่อที่ได้รับ (Number Leads)
    • จำนวนรายชื่อที่มีศักยภาพ (Potential Leads)
    • จำนวนลูกค้าที่ปิดการขายได้ (Customers)
    • รายได้ที่ได้ต่อลูกค้า 1 คน (Customer Lifetime Value)
    • ระยะเวลาที่ใช้ในการปิดการขาย (Time to Purchase)

    ซึ่งเราสามารถนำมาวิเคราะห์แยกย่อยเพิ่มเติมต่างๆ ได้ เช่น

    • แบ่งตามลำดับในการตัดสินใจ
    • แบ่งตามกลุ่มสินค้า
    • แบ่งตามรายได้ของกลุ่มเป้าหมาย

    ธุรกิจ B2B (Business-to-Business)

    ค่อนข้างใกล้เคียงกับธุรกิจแบบ B2C แนว High Involvement Products แต่สิ่งที่ค่อนข้างแตกต่างกันคือ

    ลำดับในการตัดสินใจ เนื่องจากสินค้า B2B มักมีผู้ร่วมตัดสินใจมากกว่า B2C ทำให้อาจใช้เวลานานกว่า และ ซับซ้อนกว่า

    ธุรกิจแบบสมัครสมาชิก (Subscription Model)

    มักเป็นธุรกิจที่เน้นการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการแบบเก็บค่าธรรมเนียมต่อเนื่อง เช่น บริการสตรีมมิ่ง แอปพลิเคชันต่างๆ ฟิตเนส พื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์

    ข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนำมาใช้ได้ คือ

    • พฤติกรรมการใช้งานสินค้าและบริการ
    • ข้อมูลส่วนตัวที่ได้รับจากการลงทะเบียนซึ่งได้รับความยินยอมจากลูกค้า เช่น รายได้ สินค้าที่สนใจ

    การวิเคราะห์ข้อมูล มักมีเป้าหมายเน้นไปที่การทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อคาดการณ์การยกเลิกสมาชิก และบริการสมัครสมาชิก เช่น

    • การแบ่งกลุ่มลูกค้า (Customer Segmentation): เพื่อนำเสนอและปรับปรุงสินค้าหรือบริการต่างๆ ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม
    • การคาดการณ์การยกเลิกสมาชิก (Churn Prediction): เพื่อนำเสนอบริการต่างๆ เพื่อรักษาลูกค้า และลดอัตราการยกเลิกสมาชิก

    ตัวอย่าง Key Metrics พื้นฐานที่ควรติดตาม จึงเน้นไปที่การสมัครและยกเลิกสมาชิก เช่น

    • จำนวนสมาชิกใหม่
    • จำนวนสมาชิกที่ยกเลิก
    • ความถี่ในการใช้บริการต่างๆ
    • จำนวนผู้ใช้งานรายวัน / เดือน (Daily / Monthly Active Users หรือ DAU / MAU)
    • รายได้ต่อเนื่องประจำเดือน (Monthly Recurring Revenue / MRR)

    สรุป

    นี่เป็นเพียงตัวอย่างโมเดลธุรกิจและตัวเลขบางส่วนเท่านั้น ยังมีโมเดลธุรกิจอีกมากมาย เช่น ธุรกิจโฆษณา ธุรกิจตัวกลางต่างๆ ธุรกิจบริการอื่นๆ ซึ่งสามารถแยกย่อยไปได้อีกมากมาย ขึ้นกับการบริหารและสร้างรายได้ของธุรกิจนั้นๆ อีกด้วย

    จะเห็นว่า โมเดลธุรกิจแต่ละประเภทนั้น จะมีการตัดสินใจที่แตกต่างกันไป รวมถึงการวิเคราะห์หา Insight จากข้อมูล เพื่อนำไปตัดสินใจด้วยข้อมูลด้วยเช่นกัน

    ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ประกอบการ คนที่ต้องทำงานร่วมกับ Data Analyst หรือแม้กระทั่งเป็น Analyst เอง การทำความเข้าใจ Business Model แต่ละประเภทนั้น จึงช่วยให้เราเลือกข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ เพื่อประกอบการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

    Workshop ต่างๆ ของเรา
    บริการที่ปรึกษา Data Analytics

    Related posts:

    customer-data-for analyticsข้อมูลลูกค้า (Customer Data) ประเภทต่างๆ ที่ควรรู้ในการทำ Customer Analytics แนะนำเครื่องมือและการวิเคราะห์ Data ให้ Website หรือ App ของเรามีประสบการณ์ UX ที่ดี วิเคราะห์ Data ง่ายๆ ให้เข้าใจลูกค้าและวางแผนธุรกิจได้ด้วย Customer Analytics และ Customer Metrics ที่ควรรู้ Marketing Analytics คืออะไร? มีงานอะไรบ้าง? และเลือกยังไงให้เหมาะกับธุรกิจ
    Articles - บทความ business analyticsbusiness modelcustomer analyticsdata analyticsmarketing analytics

    Post navigation

    Previous post
    Next post

    บทความที่ได้รับความนิยม

    Recent Posts

    • วิธีออกแบบ Dashboard พร้อมขั้นตอนการสร้าง Data-Driven Dashboard ให้องค์กรขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างแท้จริง
    • มาลองให้ AI อย่าง Claude ช่วยสร้าง Dashboard แบบง่ายๆ กันเถอะ
    • เลือกเครื่องมือ Analytics Tools ยังไงให้เหมาะกับการวิเคราะห์ข้อมูลของคุณ
    • Excel ยังจำเป็นแค่ไหน ในยุค AI ที่มีเครื่องมือ Data Analytics มากมาย
    • 5 Trends ด้าน Data และ AI ที่น่าสนใจในปี 2025

    Topics - หัวข้อต่างๆ

    business analytics business model career chatgpt customer analytics dashboard data analyst data analytics data driven decision making data storytelling data visualization decision making digital analytics digital marketing excel generative ai job looker studio marketing analytics marketing technology martech

    Archives

    • May 2025
    • April 2025
    • March 2025
    • February 2025
    • October 2024
    • August 2024
    • July 2024
    • June 2024
    • May 2024
    • April 2024
    • March 2024
    • January 2024

    Categories

    • Articles – บทความ
    ©2025 Data Lazy | WordPress Theme by SuperbThemes