การมีข้อมูลลูกค้าที่สมบูรณ์นับเป็นความได้เปรียบสำหรับธุรกิจ เพราะจะช่วยให้คุณเข้าใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างลึกซึ้ง สามารถสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดให้ตรงใจใครได้แม่นยำกว่าคู่แข่ง พร้อมทั้งเพิ่มโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
แต่ข้อมูลลูกค้าประเภทไหนบ้างที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ Customer Analytics ให้ได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่าที่สุด?
Table of Contents
ประเภทของข้อมูลที่ใช้ทำ Customer Analytics มีอะไรบ้าง?
การทำ Customer Analytics นั้น ช่วยให้เราทำความเข้าใจลูกค้า และการตลาดให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมายได้ แล้วมีข้อมูลอะไรบ้าง ที่เราควรรู้จัก เพื่อให้สามารถนำมาใช้ทำ Customer Analytics ได้
1. ข้อมูลพื้นฐานของลูกค้า (Customer Profile, Demographic Data)
ตัวอย่างข้อมูลพื้นฐานของลูกค้า
- ข้อมูลประชากรศาสตร์ เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา รายได้
- ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เช่น ที่อยู่ เมือง ประเทศ
- ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัว เช่น สถานภาพสมรส จำนวนบุตร
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สามารถเก็บได้ผ่านการทำแบบสอบถาม หรือ การให้ลูกค้าสมัครสมาชิก
2. ข้อมูลการซื้อสินค้าและบริการ (Transactional Data)
ตัวอย่างข้อมูลการซื้อสินค้าและบริการ
- ประวัติการซื้อสินค้าและบริการ
- ยอดซื้อ ความถี่ในการซื้อ
- ช่องทางการซื้อ เช่น ออนไลน์ ออฟไลน์
- การใช้คูปอง ส่วนลด โปรโมชั่น
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สามารถเก็บได้ผ่านเครื่องบันทึกรายการซื้อขาย เช่น เครื่อง POS หรือ ระบบ e-commerce เป็นต้น
สำหรับตัวอย่างข้อมูลยอดขายและการวิเคราะห์ยอดขายบน Excel, Google Sheet สามารถดูได้ที่บทความนี้ครับ
3. ข้อมูลพฤติกรรมการใช้งาน (Behavioral Data)
ตัวอย่างข้อมูลพฤติกรรมการใช้งาน
- การเข้าชมเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน
- การใช้งานสื่อต่างๆ เช่น โฆษณา ระบบ CRM
- การใช้บริการลูกค้าต่างๆ เช่น ลูกค้าสัมพันธ์
- การให้คะแนนหรือรีวิว
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สามารถเก็บได้ผ่านฐานข้อมูลของสื่อต่างๆ เช่น Web / App Analytics, ระบบ CRM, ระบบโฆษณา เป็นต้น
4. ข้อมูลความชื่นชอบและความสนใจ (Preference and Interest Data)
ตัวอย่างข้อมูลความชื่นชอบและความสนใจ
- ประเภทสินค้าและบริการที่สนใจ
- กิจกรรม งานอดิเรก ความบันเทิง
- ค่านิยมและรูปแบบการดำรงชีวิต
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สามารถเก็บได้ผ่านการทำแบบสอบถาม หรือ การให้ลูกค้าสมัครสมาชิก เช่นเดียวกับ Customer Profile หรือ อาจลองใช้ข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานสื่อบางส่วน มาประกอบได้ด้วยเช่นกัน
สรุป
การรวบรวมข้อมูลลูกค้าที่หลากหลายมาใช้ร่วมกันนั้น ช่วยให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนยิ่งขึ้น หากนำมาวิเคราะห์อย่างถูกวิธี ก็จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์หา Insight เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้แม่นยำมากขึ้น
รวมถึงสร้างกลยุทธ์การตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้
ซึ่งก็จะช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จและการเติบโตให้ธุรกิจของคุณได้ในที่สุดนั่นเอง